ภาพจาก google |
Isaac Newton
นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ และเชื่อในเรื่องทฤษฎีที่ว่าดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อดวงชะตา
ของคน และชอบศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุที่เราทราบกันว่าเป็นเรื่องไร้สาระ นักวิทยาศาสตร์คนเดียวกันนี้เองที่ค้นพบกฎของของแรงโน้มถ่วง และพัฒนาคณิตศาสตร์แขนงใหม่คือ “แคลคูลัส” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อวิทยาศาสตร์แขนงใหม่ทุกแขนง
เซอร์ ไอแซค นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1642 ที่ลินคอล์นเชียร์ ประเทศอังกฤษ ในสมัยที่เป็นเด็กไม่ค่อยสนใจต่อการเรียนนัก ชอบทางด้านเครื่องกล แต่พออายุ 15 ปี เขากลับเอาใจใส่ต่อการเรียนมากขึ้น แต่พอบิดาของเขาถึงแก่กรรมลง มารดาก็ตั้งใจที่จะให้เขาทำงานในฟาร์มเหมือนกับบิดา แต่เขาไม่ชอบ
ไอแซค นิวตัน เป็นคนไม่ชอบเพื่อน ฉะนั้นเขาจึงมีเวลามากพอที่จะหมกมุ่นกับตำราเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกๆใหม่ๆเป็นต้นว่า โรงสีลมเล็กๆซึ่งใช้กำลังงานจากกระแสลมทำให้เครื่องจักรหมุน และสร้างนาฬิกาน้ำโดยให้หยดลงมาในถังแล้วสังเกตระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นมา
พอนิวตันจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อปี 1665 เขาทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยนี้ พอเกิดโรคระบาดมหาวิทยาลัยจึงต้องปิดชั่วคราว นิวตันจึงกลับไปทำงานส่วนตัวที่บ้าน ในช่วงเวลานั้นเป็นระยะที่เขาได้ความคิดเกี่ยวกับงานสำคัญของเขาในเวลาต่อมาหลายเรื่อง เมื่อเขาทำงานเงียบๆด้วยตังเอง คิดถึงสิ่งต่างๆที่เขาสังเกตและสามารถเห็นเหตุผลที่ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งคนอื่นเห็นเป็นเรื่องธรรมดา เช่น การสังเกตการหล่นของแอปเปิล ที่ทำให้เขาได้ความคิดเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นแรงดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกและเป็นแรงที่ทำให้โลก ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดาวต่างๆอยู่ในระบบสุริยะ คนทั่วไปมองเห็นสีของรุ้งกินน้ำในท้องฟ้า แสงที่เราเห็นว่าไม่มีสีหรือที่เรียกว่า มีสีขาวเกิด จากสีรุ้งนั้นเอง
นิวตันเป็นคนที่อ่อนไหว เขาไม่ชอบการขัดแย้งกันและมักจะโกรธต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เขาไม่ได้ตีพิมพ์เรื่องแรงโน้มถ่วงเป็นเวลาหลายปี ในระหว่างนั้นเขาได้ศึกษาวิธีที่ สร้างกล้องโทรทรรศน์ และเมื่อเขากลับไปที่ เคมบริดจ์ เขาได้สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่มีตัวสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์นี้ ทำให้เขามีชื่อเสียงและได้รับเชิญให้เข้าร่วมราชสมาคมซึ่งเป็นสมาคมชั้นนำของนักวิททยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษ แต่โรเบิร์ต ฮุค ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสมาคมได้วิจารณ์ความคิดของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของแสง นิวตันและฮุค จึงไม่เคยเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเลย
นิวตัน ยังมีสิ่งที่อยู่ในความสนใจนอกเหนือไปจากวิทยาศาสตร์ เขาได้เป็นสมาชิกรัฐสภาในช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้นในปี 1699 เขาได้เป็นหัวหน้ากองกษาปณ์ ของราชสำนัก ซึ่งผลิตเหรียญที่ใช้กันในประเทศ
ถึงแม้เขาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ แต่เขาก็มีความคิดบางอย่างที่แปลกประหลาด เช่น เขาเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ เชื่อในเรื่องทฤษฎี ที่ว่าดวงดาวมีอิทธิพลต่อโชคชะตาของคน เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถเปลี่ยนโลหะ เช่น ทองแดงเป็นทองคำได้ในสมัยนิวตันผู้คนมีความเชื่อกันเช่นนี้มากซึ่งปัจจุบัน เราทราบว่าเป็นเรื่องไร้สาระ
ไอแซค นิวตัน เป็นบุคคล ที่มุ่งทำประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าชีวิตของตนเอง เขามีความสูขอยู่กับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และการคำนวณภายในห้องทดลองของเขายิ่งกว่าสิ่งอื่นใด เขาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น “เซอร์” เมื่อมีอายุ 60 ปีแล้ว
เซอร์ไอแซค นิวตัน ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี และถูกฝังในสุสานวิหารเวสมินสเตอร์ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นอนุสาวรีย์ของเขาตั้งอยู่ แม้ว่าทุกคนจะระลึกถึงเขาว่าเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง แต่ตัวเขาเคยพูดว่า “ฉันมองได้ไกลกว่าคนส่วนใหญ่ก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น